เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 5. วิราคกถา
เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์มรรค 7 ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความ
เป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า และสาวก ย่อมถึง
นิพพานซึ่งเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามรรคมีองค์ 8
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เท่านั้นล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรค
ของสมณพรหมณ์เป็นจำนวนมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ 8 จึง
ประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราค-
สังโยชน์ จากปฏิฆสังโยชน์ ส่วนที่หยาบ ๆ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย
ส่วนที่หยาบ ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และคลาย
จากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะจึงมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร รวมลง
ในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ
คำว่า วิราคะ อธิบายว่า วิราคะมี 2 อย่าง คือ
1. นิพพานเป็นวิราคะ
2. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ
ฯลฯ เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ 8 จึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราค-
สังโยชน์ จากปฏิฆสังโยชน์ ส่วนที่ละเอียด ๆ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย
ส่วนที่ละเอียด ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และคลาย
จากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะจึงมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น มรรค
มีองค์ 8 จึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ จาก
อรูปราคะ จากอุทธัจจะ จากอวิชชา จากมานานุสัย จากภวราคานุสัย จาก
อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และคลายจาก
สรรพนิมิตภายนอก วิราคะจึงมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร รวมลงใน
วิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :476 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 5. วิราคกถา
คำว่า วิราคะ อธิบายว่า วิราคะมี 2 อย่าง คือ
1. นิพพานเป็นวิราคะ
2. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ
เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์มรรค 7 ที่เป็นสหชาติย่อมถึงความ
เป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า และสาวกย่อมถึง
นิพพานซึ่งเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามรรคมีองค์ 8
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เท่านั้นล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรค
ของสมณพราหมณ์เป็นจำนวนมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ 8 จึง
ประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
วิราคะคือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ วิราคะคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมา-
สังกัปปะ วิราคะคือความกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา วิราคะคือสมุฏฐาน ชื่อว่า
สัมมากัมมันตะ วิราคะคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ วิราคะคือการ
ประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ วิราคะคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ วิราคะคือ
ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
วิราคะคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ วิราคะคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่า
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิราคะคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ วิราคะคือ
ความแผ่ไป ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ วิราคะคือความสงบระงับ ชื่อว่าปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ วิราคะคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ วิราคะคือการ
พิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
วิราคะคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ วิราคะคือ
ความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ วิราคะคือความไม่หวั่นไหว
เพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ วิราคะคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่า
สมาธิพละ วิราคะคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ
วิราคะคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ วิราคะคือการประคองไว้ ชื่อว่า
วิริยินทรีย์ วิราคะคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ วิราคะคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
สมาธินทรีย์ วิราคะคือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :477 }