เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 5. วิราคกถา
ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้วโดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาสติ
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาสมาธิ
องค์มรรค 8 ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค 8 ประการนี้ ฯลฯ
องค์มรรค 8 ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อม
ห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค 8 ประการนี้
องค์มรรค 8 ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความดำรงมั่น
เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตา-
เจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภ
เสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยัง
เมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
มัคคังควาร จบ
เมตตากถา จบ

5. วิราคกถา
ว่าด้วยวิราคะ
[28] วิราคะชื่อว่ามรรค วิมุตติชื่อว่าผล
วิราคะชื่อว่ามรรค เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
ย่อมคลายจากมิจฉาทิฏฐิ คลายจากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :474 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 5. วิราคกถา
และคลายจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะ1เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร
รวมลงในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ
คำว่า วิราคะ อธิบายว่า วิราคะมี 2 อย่าง คือ
1. นิพพานเป็นวิราคะ
2. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ
เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์มรรค 7 ที่เป็นสหชาติย่อมถึงความ
เป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า และสาวกย่อมถึง
นิพพานซึ่งเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามรรคมีองค์ 8
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เท่านั้นล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรค
ของสมณพราหมณ์เป็นจำนวนมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ 8 จึง
ประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง
ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะ
กำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา วิราคะที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะ
เป็นสมุฏฐาน ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมี
สภาวะผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะ
มีสภาวะประคองไว้ ย่อมคลายจากมิจฉาวายามะ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะ
มีสภาวะตั้งมั่น ย่อมคลายจากมิจฉาสติ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมี
สภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-
สมาธินั้น จากขันธ์ และคลายจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะจึงมีวิราคะเป็นอารมณ์
มีวิราคะเป็นโคจร รวมลงในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ
คำว่า วิราคะ อธิบายว่า วิราคะมี 2 อย่าง คือ
1. นิพพานเป็นวิราคะ
2. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ

เชิงอรรถ :
1 วิราคะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ป.อ. 2/8/247)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :475 }