เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 4. เมตตากถา 4. มัคคังควาร
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่ปาณชาติทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่ภูตทั้งปวง
ในทิศบูรพา ฯลฯ สู่บุคคลทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่ผู้นับเนื่องในอัตภาพทั้งปวง
ในทิศบูรพา ฯลฯ สู่สตรีทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่บุรุษทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ
สู่อารยชนทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่อนารยชนทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่เทวดา
ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่มนุษย์ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ สู่
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ
สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ
สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนด้วยอาการ 8
อย่างนี้ คือ
1. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
2. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
3. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ
เบื้องบนให้เดือดร้อน
4. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
5. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ
เบื้องบน
6. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
7. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
8. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต
จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ
เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ
ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสัทธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :471 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 4. เมตตากถา 4. มัคคังควาร
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยวิริยินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
สตินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
สมาธินทรีย์
ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ 5 ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ 5 ประการนี้ ฯลฯ ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้
โชติช่วง ให้สว่างไสว
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ด้วยมนสิการว่า “ขอ
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยวิริยพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยสติพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม
แล้วด้วยสมาธิพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม
แล้วด้วยปัญญาพละ
พละ 5 ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ 5 ประการนี้ ฯลฯ ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง
ให้สว่างไสว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :472 }