เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
มโนควรทำให้แจ้ง ธรรมารมณ์ควรทำให้แจ้ง มโนวิญญาณควรทำให้แจ้ง
มโนสัมผัสควรทำให้แจ้ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยควรทำให้แจ้ง
พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป ชื่อว่าย่อมทำให้แจ้ง (ด้วยการทำให้เป็นอารมณ์)
เมื่อเห็นเวทนา ฯลฯ เมื่อเห็นสัญญา ฯลฯ เมื่อเห็นสังขาร ฯลฯ เมื่อเห็นวิญญาณ ฯลฯ
เมื่อเห็นจักขุ ฯลฯ เมื่อเห็นชราและมรณะ ฯลฯ เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือ
นิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด ชื่อว่าย่อมทำให้แจ้ง (ด้วยการทำให้เป็นอารมณ์)
ธรรมใด ๆ ที่ทำให้แจ้งแล้ว ธรรมนั้น ๆ เป็นธรรมที่ถูกต้องแล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควร
ทำให้แจ้ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (5)
[30] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม
ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ ธรรม
เหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า
สุตมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรผู้ได้ปฐมฌาน มีสัญญา (ความหมายรู้) และมนสิการ (การ
ทำไว้ในใจ) ที่ประกอบด้วยกามเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติ1ที่เป็น
ธรรมสมควรแก่ปฐมฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและ
มนสิการที่ไม่ประกอบด้วยวิตกเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและ
มนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(ความเบื่อหน่าย)(และ)วิราคะ(ความคลายกำหนัด)
เกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้ทุติยฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยวิตกเกิดขึ้น
ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่ทุติยฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรม

เชิงอรรถ :
1 สติ ในที่นี้หมายถึงนิกันติ (ความติดใจ) (ขุ.ป.อ.1/30/152)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :47 }