เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 4. เมตตากถา 4. มัคคังควาร
องค์มรรค 8 ประการนี้เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค 8 ประการนี้
องค์มรรค 8 ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค 8 ประการนี้
องค์มรรค 8 ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อม
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค 8 ประการนี้
องค์มรรค 8 ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่
ด้วยดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ
เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว
ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
[27] ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่ปาณชาติทั้งปวง ฯลฯ สู่ภูตทั้งปวง ฯลฯ
สู่บุคคลทั้งปวง ฯลฯ สู่ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง ฯลฯ สู่สตรีทั้งปวง ฯลฯ
สู่บุรุษทั้งปวง ฯลฯ สู่อารยชนทั้งปวง ฯลฯ สู่อนารยชนทั้งปวง ฯลฯ สู่เทวดา
ทั้งปวง ฯลฯ สู่มนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ 8 อย่างนี้ คือ
1. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
2. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
3. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน
4. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
5. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
6. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
7. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
8. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :469 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 4. เมตตากถา 4. มัคคังควาร
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต
จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ
เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ
ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์
ฯลฯ ย่อมให้รุ่งเรือง ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงใน
ทิศปัจฉิม ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ
สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวง
ในทิศอีสาน ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนด้วยอาการ 8 อย่างนี้
คือ
1. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
2. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
3. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนให้
เดือดร้อน
4. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
5. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
6. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
7. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
8. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต
จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ
เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ
ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์
ฯลฯ ย่อมให้รุ่งเรือง ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :470 }