เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 4. เมตตากถา 3. โพชฌังควาร
ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตา-
เจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาเพ่งเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ 7 ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ 7 ประการนี้
โพชฌงค์ 7 ประการนี้เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ 7 ประการนี้
โพชฌงค์ 7 ประการนี้เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำ
ให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ 7 ประการนี้
โพชฌงค์ 7 ประการนี้เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ 7 ประการนี้
โพชฌงค์ 7 ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ 7 ประการนี้ โพชฌงค์ 7 ประการนี้เป็นบริวารของ
เมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ 7 ประการนี้
โพชฌงค์ 7 ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี
เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตา-
เจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว
ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
โพชฌังควาร จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :467 }