เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 4. เมตตากถา 3. โพชฌังควาร
พละ 5 ประการนี้เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำให้มาก
ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ 5 ประการนี้
พละ 5 ประการนี้เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ 5 ประการนี้
พละ 5 ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ 5 ประการนี้
พละ 5 ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อม
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ 5 ประการนี้
พละ 5 ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่
ด้วยดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ
เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว
ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
พลวาร จบ

3. โพชฌังควาร
วาระว่าด้วยโพชฌงค์
[25] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ
ปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :466 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 4. เมตตากถา 3. โพชฌังควาร
ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตา-
เจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาเพ่งเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ 7 ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ 7 ประการนี้
โพชฌงค์ 7 ประการนี้เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ 7 ประการนี้
โพชฌงค์ 7 ประการนี้เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำ
ให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ 7 ประการนี้
โพชฌงค์ 7 ประการนี้เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ 7 ประการนี้
โพชฌงค์ 7 ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ 7 ประการนี้ โพชฌงค์ 7 ประการนี้เป็นบริวารของ
เมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ 7 ประการนี้
โพชฌงค์ 7 ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี
เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตา-
เจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว
ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
โพชฌังควาร จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :467 }