เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 4. เมตตากถา 1. อินทริยวาร
1. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จงเป็นผู้ไม่มีเวรไม่เบียดเบียนกัน
ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
2. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ
3. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ
4. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ
5. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ
6. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ
7. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ
8. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ
9. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
10. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน
ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ 10 อย่างนี้

1. อินทริยวาร
วาระว่าด้วยอินทรีย์
[23] ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ 8 อย่างนี้ คือ
1. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง
2. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง
3. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน
4. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง
5. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง
6. ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
7. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
8. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต
จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ
เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :463 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 4. เมตตากถา 1. อินทริยวาร
ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มี
ความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสมาธินทรีย์
ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์
อินทรีย์ 5 ประการนี้เป็นอาเสวนะ (การปฏิบัติ) ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคล
ย่อมปฏิบัติเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการนี้เป็นภาวนา (การเจริญ) ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคล
ย่อมเจริญเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการนี้เป็นพหุลีกรรม (การทำให้มาก) ของเมตตาเจโตวิมุตติ
บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการนี้เป็นอลังการ (เครื่องประดับ) ของเมตตาเจโตวิมุตติ
บุคคลย่อมประดับเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อม
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต (ไปร่วมกัน) เป็นสหชาติ
(เกิดร่วมกัน) เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ (ประกอบกัน) เป็นความแล่นไป
เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :464 }