เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 3. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัทธินทรีย์ด้วยสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปัญญินทรีย์ด้วยสภาวะเห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สัทธาพละด้วยสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้ปัญญาพละด้วยสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สติสัมโพชฌงค์ด้วยสภาวะตั้งมั่น ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ด้วยสภาวะพิจารณา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัมมาทิฏฐิด้วยสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สัมมาสมาธิด้วยสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อินทรีย์
ด้วยสภาวะเป็นใหญ่ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้พละด้วยสภาวะไม่หวั่นไหว ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นำออก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้มรรคด้วย
สภาวะเป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สติปัฏฐานด้วยสภาวะตั้งมั่น ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัมมัปปธานด้วยสภาวะตั้งไว้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
อิทธิบาทด้วยสภาวะให้สำเร็จ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัจจะด้วยสภาวะเป็น
ของแท้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สมถะด้วยสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้วิปัสสนาด้วยสภาวะพิจารณาเห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สมถะ
และวิปัสสนาด้วยสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ธรรมที่
เป็นคู่กันด้วยสภาวะไม่ล่วงเลยกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สีลวิสุทธิด้วยสภาวะ
สำรวม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้จิตตวิสุทธิด้วยสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้ทิฏฐิวิสุทธิด้วยสภาวะเห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้วิโมกข์ด้วยสภาวะ
หลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้วิชชาด้วยสภาวะรู้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้วิมุตติด้วยสภาวะสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ญาณในความสิ้นไปด้วย
สภาวะตัดขาด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อนุปปาทญาณด้วยสภาวะสงบระงับ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ฉันทะด้วยสภาวะเป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้มนสิการด้วยสภาวะเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ผัสสะด้วย
สภาวะเป็นที่รวม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้เวทนาด้วยสภาวะเป็นที่ประชุม ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สมาธิด้วยสภาวะเป็นประธาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สติ
ด้วยสภาวะเป็นใหญ่ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปัญญาด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่ง
กว่าธรรมนั้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้วิมุตติด้วยสภาวะเป็นแก่นสาร ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพานด้วยสภาวะเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :455 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 3. โพชฌังคกถา
[20] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้ โพชฌงค์ 7 ประการอะไรบ้าง คือ
1. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ 7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ 7 ประการนี้แล ผมนั้นประสงค์จะอยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์
ใด ๆ บรรดาโพชฌงค์ 7 ประการนี้ ผมก็อยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ
ประสงค์จะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ ในเวลาเย็นด้วยโพชฌงค์ใด ๆ ผมก็อยู่ในเวลา
เย็นด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ สติสัมโพชฌงค์ของผม
ก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด
สติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป
ก็รู้ชัดว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้” ฯลฯ ท่านทั้งหลาย
ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่า
หาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป
ก็รู้ชัดว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้”
ท่านทั้งหลาย เปรียบเหมือนตู้เก็บผ้าของพระราชาหรือของมหาอำมาตย์ของ
พระราชา เต็มด้วยผ้าสีต่าง ๆ พระราชาหรือมหาอำมาตย์นั้นประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใด
ในเวลาเช้า ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแหละในเวลาเช้า ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดในเวลาเที่ยง ฯลฯ
ในเวลาเย็น ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแหละในเวลาเย็น ฉันใด ผมก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ประสงค์จะอยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์ใด ๆ บรรดาโพชฌงค์ 7 ประการนี้ ก็อยู่
ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ ในเวลาเย็นด้วย
โพชฌงค์ใด ๆ ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ สติ-
สัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผม
กำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้สติ-
สัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปก็รู้ว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :456 }