เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 3. โพชฌังคกถา
มลทิน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคปราศจากมลทิน ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคหมดมลทิน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะแห่งความสงบ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคทำให้กิเลสระงับ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
ดำเนินไปในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งความคลายกำหนัด
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปในความคลายกำหนัด ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งความดับ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปใน
ความดับ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่ง
ความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปในความหลุดพ้น
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เป็นมูลแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นบาทแห่งฉันทะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นประธานแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่สำเร็จแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่น้อมไปแห่งฉันทะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองไว้แห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่ง
ฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งฉันทะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งวิริยะ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะแห่งจิตตะ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นมูลแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
บาทแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นประธานแห่งวิมังสา ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สำเร็จแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่น้อมไปแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิมังสา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งวิมังสา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :453 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 3. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งสมุทัย
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่พัวพัน
แห่งสมุทัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งนิโรธ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
อสังขตะแห่งนิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งมรรค ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
นำออกแห่งมรรค ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ฯลฯ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งมรรค ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นของแท้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เป็นอนัตตา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นของจริง ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้ยิ่ง ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่กำหนดรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นธรรม ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นธาตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่ถูกต้อง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้เนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อพยาบาท
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อาโลกสัญญา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อวิกเขปะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ธัมมววัตถาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ญาณ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปามุชชะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อรหัตตมรรค ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อรหัตตผลสมาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :454 }