เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 3. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่ไม่มีระหว่างคั่นแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ออกแห่งจิต ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะหลีกไปแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
เหตุแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นปัจจัยแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นภูมิ
แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นอารมณ์แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นโคจรแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เที่ยวไป
แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไปแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่นำไปแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นำออกแห่งจิต
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สลัดออกแห่งจิต
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นึกในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้งในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้ชัดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่จำได้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่เนื่องในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่แล่นไปใน
จิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ผ่องใสในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หลุดพ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นว่า “นี้ละเอียด” ในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้เป็นดุจญาณในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้เป็นที่ตั้งในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งขึ้นเนือง ๆ ในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อบรมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปรารภเสมอดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่กำหนดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นบริวารในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :451 }