เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 3. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะกำหนดธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะกำหนดความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่เป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
บริวารแห่งความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เต็มรอบแห่งธรรมที่
เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะเต็มรอบในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่แก่กล้าในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่แก่กล้าในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะความแตกฉานใน
ธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะความแตกฉานในความสละ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้ถึงความแตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เจริญความชำนาญในความแตกฉานในความสละ
(ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตก
ฉานในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแม้ของบุคคลผู้ถึง
ความชำนาญในความแตกฉานในความสละ)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ควรกำหนด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นบริวาร ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เต็มรอบ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองไว้ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่กระจัดกระจายไป ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่
ขุ่นมัว ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหว ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจความปรากฏแห่งจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นอารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
เป็นโคจร ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่สละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ออก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่หลีกไป ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ละเอียด ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประณีต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หลุดพ้น ชื่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :448 }