เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 3. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้
ตรัสรู้ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมี
สภาวะให้ตรัสรู้พร้อม (3)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็น
ไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นไปในธรรมฝ่าย
ตรัสรู้พร้อม (4)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นเหตุให้ได้ความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะปลูกความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะบำรุงความตรัสรู้
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้
ถึงพร้อมความตรัสรู้ (5)

มูลมูลกาทิทสกะ
ว่าด้วยหมวด 10 แห่งธรรมที่เป็นมูลมีสภาวะเป็นมูลเป็นต้น
[18] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดธรรมที่เป็นมูล
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าใน
ธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์
แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล (1)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดธรรมที่เป็นเหตุ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :444 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 3. โพชฌังคกถา
ในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อ
ว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่า
โพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ (2)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดธรรมที่เป็น
ปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้า
ในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย
ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย (3)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความหมดจด
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าใน
ความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์
แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด (4)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความไม่มีโทษ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
มีสภาวะเต็มรอบในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในความ
ไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมี
สภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของ
บุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีโทษ (5)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :445 }