เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 3. โพชฌังคกถา
3. โพชฌังคกถา
ว่าด้วยโพชฌงค์
[17] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้
โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือการเลือกเฟ้น
ธรรม)
3. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร)
4. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกาย
สงบใจ)
6. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น)
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจเป็น
กลาง)

ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้แล
คำว่า โพชฌงค์ อธิบายว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นไปในความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้พร้อม
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตรัสรู้
ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ตรัสรู้พร้อม (1)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้ตาม ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้พร้อม (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :443 }