เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 2. สัจจกถา 2. ทุติยสุตตันตนิทเทส
อย่างนี้ว่า “ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นเหตุเกิด มีอุปาทานเป็นกำเนิด มี
อุปาทานเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งภพ
เหตุเกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งภพ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “อุปาทานมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะ
กำหนดอย่างนี้ว่า “อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็น
กำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้
ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่งอุปาทาน และข้อปฏิบัติที่ให้
ถึงความดับแห่งอุปาทาน”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ตัณหามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มี
เวทนาเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งตัณหา
เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งตัณหา”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “เวทนามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มี
ผัสสะเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งเวทนา
เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ผัสสะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะเป็น
กำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณ
รู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งผัสสะ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความ
ดับแห่งผัสสะ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “สฬายตนะมีอะไรเป็นเหตุ มี
อะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :440 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 2. สัจจกถา 2. ทุติยสุตตันตนิทเทส
สภาวะกำหนดอย่างนี้ว่า “สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด มี
นามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า
“ญาณรู้ชัดซึ่งสฬายตนะ เหตุเกิดแห่งสฬายตนะ ความดับแห่งสฬายตนะ และข้อ
ปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “นามรูปมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด มีวิญญาณเป็นกำเนิด
มีวิญญาณเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่ง
นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งนามรูป และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับ
แห่งนามรูป”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “วิญญาณมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะ
กำหนดอย่างนี้ว่า “วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขารเป็น
กำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัด
ซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึง
ความดับแห่งวิญญาณ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “สังขารมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มี
อวิชชาเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งสังขาร
เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร”
[16] ชราและมรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็นสมุทยสัจ การสลัดชรามรณะและ
ชาติแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชรามรณะและชาติเป็นมัคคสัจ
ชาติเป็นทุกขสัจ ภพเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากชาติและภพแม้ทั้งสอง
เป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชาติและภพเป็นมัคคสัจ
ภพเป็นทุกขสัจ อุปาทานเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากภพและอุปาทาน
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับภพและอุปาทานเป็นมัคคสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :441 }