เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 2. สัจจกถา 1. ปฐมสุตตันตนิทเทส
คือ สัจจะ 4 มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะตรัสรู้ ด้วย
อาการ 16 อย่าง ได้แก่
1. สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้
2. สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้
3. สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้
4. สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้
5. สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้
6. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้
7. สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้
8. สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้
9. สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้
10. สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้
11. สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้
12. สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้
13. สภาวะที่นำออกแห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้
14. สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้
15. สภาวะที่เห็นแห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้
16. สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้
สัจจะ 4 ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะตรัสรู้ ด้วยอาการ 16 อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจร ย่อมรู้
แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ 4 จึงมีการรู้
แจ้งด้วยญาณเดียว
[12] สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ 2 คือ
1. สังขตลักษณะ (ลักษณะแห่งธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง)
2. อสังขตลักษณะ (ลักษณะแห่งธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง)
สัจจะมีลักษณะ 2 อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :435 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 2. สัจจกถา 1. ปฐมสุตตันตนิทเทส
สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ 6 คือ
1. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความเกิดปรากฏ
2. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความเสื่อมปรากฏ
3. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
4. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเกิดไม่ปรากฏ
5. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเสื่อมไม่ปรากฏ
6. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนไม่ปรากฏ
สัจจะมีลักษณะ 6 อย่างนี้
สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ 12 คือ
1. ทุกขสัจ มีความเกิดปรากฏ
2. ทุกขสัจ มีความเสื่อมปรากฏ
3. ทุกขสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
4. สมุทยสัจ มีความเกิดปรากฏ
5. สมุทยสัจ มีความเสื่อมปรากฏ
6. สมุทยสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
7. มัคคสัจ มีความเกิดปรากฏ
8. มัคคสัจ มีความเสื่อมปรากฏ
9. มัคคสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
10. นิโรธสัจ ความเกิดไม่ปรากฏ
11. นิโรธสัจ ความเสื่อมไม่ปรากฏ
12. นิโรธสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนไม่ปรากฏ
สัจจะมีลักษณะ 12 อย่างนี้
สัจจะ 4 เป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤตเท่าไร
คือ สมุทยสัจเป็นอกุศล มัคคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต ทุกขสัจ
เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี สัจจะ 3 นี้ ท่านสงเคราะห์เข้ากับ
สัจจะ 1 สัจจะ 1 ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ 3 ด้วยอำนาจวัตถุ1(และ) ด้วยปริยาย

เชิงอรรถ :
1 วัตถุ ในที่นี้หมายถึงกุศล อกุศล อัพยากฤต ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (ขุ.ป.อ. 2/12/232))

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :436 }