เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 2. สัจจกถา 1. ปฐมสุตตันตนิทเทส
สัจจะ 4 ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของแท้ ด้วยอาการ 4 อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม
รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ 4 จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ 4 มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา เป็น
อย่างไร
คือ สัจจะ 4 มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา
ด้วยอาการ 4 อย่าง ได้แก่
1. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นอนัตตา
2. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นอนัตตา
3. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นอนัตตา
4. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นอนัตตา
สัจจะ 4 ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นอนัตตา ด้วยอาการ 4 อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม
รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ 4 จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ 4 มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง เป็น
อย่างไร
คือ สัจจะ 4 มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง
ด้วยอาการ 4 อย่าง ได้แก่
1. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของจริง
2. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของจริง
3. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของจริง
4. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของจริง
สัจจะ 4 ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของจริง ด้วยอาการ 4 อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้
แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ 4 จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :430 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 2. สัจจกถา 1. ปฐมสุตตันตนิทเทส
สัจจะ 4 มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง เป็นอย่างไร
คือ สัจจะ 4 มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยอาการ
4 อย่าง ได้แก่
1. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะรู้แจ้ง
2. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะรู้แจ้ง
3. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะรู้แจ้ง
4. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะรู้แจ้ง
สัจจะ 4 ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะรู้แจ้ง ด้วยอาการ 4 อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม
รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ 4 จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว
[10] สัจจะ 4 มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว เป็นอย่างไร คือ
สัจจะใดไม่เที่ยง สัจจะนั้นเป็นทุกข์ สัจจะใดเป็นทุกข์ สัจจะนั้นไม่เที่ยง
สัจจะใดไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ สัจจะนั้นเป็นอนัตตา
สัจจะใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา สัจจะนั้นเป็นของแท้
สัจจะใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และเป็นของแท้ สัจจะนั้นเป็นของจริง
สัจจะใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของแท้ และเป็นของจริง
สัจจะนั้นท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้น
เป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น
สัจจะ 4 จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ 4 มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการเท่าไร
คือ สัจจะ 4 มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการ 9 อย่าง ได้แก่
1. ด้วยสภาวะเป็นของแท้ 2. ด้วยสภาวะเป็นอนัตตา
3. ด้วยสภาวะเป็นของจริง 4. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :431 }