เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อละอัตตสัญญา (ความหมายรู้ว่าอัตตา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจ
แห่งอนัตตานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละนันทิ (ความยินดี) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งนิพพิทานุปัสสนา
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละราคะ (ความกำหนัด) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิราคานุปัสสนา
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละสมุทัย (เหตุเกิด) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งนิโรธานุปัสสนา
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอาทานะ (ความยึดถือ) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งปฏินิสสัคคา-
นุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละฆนสัญญา (ความหมายรู้ว่าเป็นก้อน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจ
แห่งขยานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอายุหนะ (กรรมเป็นเครื่องประมวลมา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจ
แห่งวยานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละธุวสัญญา (ความหมายรู้ว่ามั่นคง) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง
วิปริณามานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละนิมิต (เครื่องหมาย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอนิมิตตานุ-
ปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละปณิธิ (ความตั้งมั่น) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตานุ-
ปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอภินิเวส (ความยึดมั่น) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งสุญญตานุ-
ปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละสาราทานาภินิเวส (ความยึดมั่นว่าเป็นแก่นสาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละสัมโมหาภินิเวส (ความยึดมั่นเพราะความหลง) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :43 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อละอาลยาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยความอาลัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งอาทีนวานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอัปปฏิสังขา (การไม่พิจารณา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง
ปฏิสังขานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละสัญโญคาภินิเวส (ความยึดมั่นเพราะกิเลสเครื่องประกอบ) ธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วง
เลยกัน
เมื่อละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งโสดา-
ปัตติมรรค ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อละกิเลสอย่างหยาบ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งสกทาคามิมรรค
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละกิเลสอย่างละเอียด ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอนาคามิมรรค
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละกิเลสทั้งปวง ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค ย่อมไม่
ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ อินทรีย์ 5 มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วย
อำนาจแห่งเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์
ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อละพยาบาท อินทรีย์ 5 มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง อินทรีย์ 5 มีรสเป็นอย่าง
เดียวกันด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
อย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :44 }