เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 2. สัจจกถา
ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ 10 ประการนี้
ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาด
ในอุทธัจจะในธรรม
และย่อมไม่ถึงความหลงใหล
จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมเคลื่อน
จิตกวัดแกว่ง ไม่เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมเสื่อมไป
จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมไม่เสื่อมไป
จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมไม่เคลื่อน
ด้วยฐานะ 4 ประการนี้ ภิกษุย่อมรู้ชัดความที่จิตกวัดแกว่ง ฟุ้งซ่าน ถูก
โอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ 10 ประการนี้ ฉะนี้แล
(ธัมมุทธัจจวารนิทเทส จบ)
ยุคนัทธกถา จบ

2. สัจจกถา
ว่าด้วยสัจจะ
[8] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น1 ภิกษุทั้งหลาย สัจจะ 4 ประการนี้
เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
สัจจะ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
1 สูตรข้างต้น ในที่นี้หมายถึงยุคนัทธกถา ข้อที่ 1 หน้า 413 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :427 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 2. สัจจกถา 1. ปฐมสุตตันตนิทเทส
1. สัจจะว่า นี้ทุกข์ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
2. สัจจะว่า นี้ทุกขสมุทัย เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
3. สัจจะว่า นี้ทุกขนิโรธ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
4. สัจจะว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ภิกษุทั้งหลาย สัจจะ 4 ประการนี้แล เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น

1. ปฐมสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ 1
ทุกข์ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ 4 ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ได้แก่
1. สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ 2. สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์
3. สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ 4. สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์
สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ 4 ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ทุกข์ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้
สมุทัย ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย 4 ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด
ไม่เป็นอย่างอื่น ได้แก่
1. สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย 2. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย
3. สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย 4. สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย
สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย 4 ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็น
อย่างอื่น สมุทัย ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้
นิโรธ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ 4 ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด
ไม่เป็นอย่างอื่น ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :428 }