เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 1. ยุคนัทธกถา 1. สุตตันตนิทเทส
อย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะหลีกออก ดังนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลีกออก”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด เป็น
อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่
ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้
สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะ
เป็นธรรมละเอียด ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนา
คู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต เป็น
อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้
สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะ
เป็นธรรมประณีต ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนา
คู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลุดพ้น เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน หลุดพ้นจากกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น หลุดพ้นจากอวิชชาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าเจโตวิมุตติ เพราะมีสภาวะปราศจากราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะมีสภาวะ
ปราศจากอวิชชา ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะหลุดพ้น ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลุดพ้น”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :422 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 1. ยุคนัทธกถา 1. สุตตันตนิทเทส
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน ไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกัน
ด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและจากขันธ์ จึงมีสมาธิ
คือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจาก
กิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็น
คู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน ไม่มีนิมิตด้วยนิมิตทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ไม่มีนิมิตด้วยนิมิตทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลย
กันด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน ไม่มีปณิธิด้วยปณิธิทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ไม่มีปณิธิด้วยปณิธิทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :423 }