เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 1. ยุคนัทธกถา 1. สุตตันตนิทเทส

1. ด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ 2. ด้วยมีสภาวะเป็นโคจร
3. ด้วยมีสภาวะละ 4. ด้วยมีสภาวะสละ
5. ด้วยมีสภาวะออก 6. ด้วยมีสภาวะหลีกออก
7. ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด 8. ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต
9. ด้วยมีสภาวะหลุดพ้น 10. ด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ
11. ด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม 12. ด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต
13. ด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ 14. ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ
15. ด้วยมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน 16. ด้วยมีสภาวะเป็นคู่กันไม่ล่วง
เลยกัน

ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์ เมื่อภิกษุนั้นละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
พิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรส
เป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ ดังนี้ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็น
อารมณ์”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี 4 อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญ
สมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์อย่างนี้
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นโคจร เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นโคจร ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญ
สมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นโคจร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :420 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 1. ยุคนัทธกถา 1. สุตตันตนิทเทส
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะละ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและขันธ์ จึงมีสมาธิคือความ
ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสที่ประกอบด้วย
อวิชชาและขันธ์ จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลย
กันด้วยมีสภาวะละ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนา
คู่กันไปด้วยมีสภาวะละ”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะสละ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุสละกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและขันธ์ จึงมีสมาธิคือความ
ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสที่ประกอบ
ด้วยอวิชชาและขันธ์ จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร
ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วง
เลยกันด้วยมีสภาวะสละ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะสละ”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะออก เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุออกจากกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและจากขันธ์ จึงมีสมาธิ
คือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจาก
กิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะออก ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะออก”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลีกออก เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุหลีกออกจากกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและจากขันธ์ จึงมี
สมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีก
ออกจากกิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
พิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :421 }