เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อละวิตกและวิจาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งทุติยฌาน ย่อมไม่
ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละปีติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งตติยฌาน ย่อมไม่ล่วงเลยกัน
และกัน ...
เมื่อละสุขและทุกข์ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งจตุตถฌาน ย่อมไม่
ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อพระโยคาวจรละรูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) ปฏิฆสัญญา (ความหมาย
รู้ความกระทบกระทั่งในใจ) นานัตตสัญญา (ความหมายรู้ภาวะต่างกัน) ธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่
ล่วงเลยกัน
เมื่อละอากาสานัญจายตนสัญญา (ความหมายรู้อากาสานัญจายตนะ) ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อละวิญญาณัญจายตนสัญญา (ความหมายรู้วิญญาณัญจายตนะ) ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอากิญจัญญายตนสัญญา (ความหมายรู้อากิญจัญญายตนะ) ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกัน
และกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิด
ในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อพระโยคาวจรละนิจจสัญญา (ความหมายรู้ว่าเที่ยง) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งอนิจจานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อละสุขสัญญา (ความหมายรู้ว่าเป็นสุข) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง
ทุกขานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :42 }