เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 1. ยุคนัทธกถา 1. สุตตันตนิทเทส
คำว่า เมื่อเธอปฏิบัติมรรคนั้น ฯลฯ อนุสัยย่อมสิ้นไป อธิบายว่า ภิกษุ
ย่อมละสังโยชน์ได้อย่างไร อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างไร
คือ ย่อมละสังโยชน์ 3 นี้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
อนุสัย 2 นี้ คือ ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
ย่อมละสังโยชน์ 2 นี้ คือ กามราคสังโยชน์ และปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ
อนุสัย 2 นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยส่วนหยาบ ๆ ย่อมสิ้นไปด้วย
สกทาคามิมรรค
ย่อมละสังโยชน์ 2 นี้ คือ กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ
อนุสัย 2 นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยส่วนละเอียด ๆ ย่อมสิ้นไปด้วย
อนาคามิมรรค
ย่อมละสังโยชน์ 5 นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา
อนุสัย 3 นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตต-
มรรค ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าย่อม
เจริญวิปัสสนา มีสมถะนำหน้าอย่างนี้
[4] ภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่า
วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมี
สภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“เจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี 4 อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :418 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 1. ยุคนัทธกถา 1. สุตตันตนิทเทส
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นรูปโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่า
วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะ
มีสภาวะพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่
เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน เป็น
สมาธิ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี 4 อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อ
ว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละ
สังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร
ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นชรา
และมรณะโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นชราและ
มรณะโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นชราและมรณะ
โดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็น
อารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ วิปัสสนาจึงมีก่อน
สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะมี
วิปัสสนานำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี 4 อย่าง ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญ
สมถะมีวิปัสสนานำหน้าอย่างนี้
[5] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ 16 อย่าง1 ได้แก่

เชิงอรรถ :
1 อาการ 16 อย่าง หมายเอาสภาวะที่เป็นคู่กันด้วย (ขุ.ป.อ. 2/5/220)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :419 }