เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 1. ยุคนัทธกถา 1. สุตตันตนิทเทส
คำว่า ทำให้มาก อธิบายว่า ภิกษุทำให้มากอย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อเห็น
ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อพิจารณา ชื่อว่าทำให้มาก เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าทำให้มาก
เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าทำให้
มาก เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ชัด
ด้วยปัญญา ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อ
กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าทำให้มาก
เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าทำให้มาก ภิกษุทำให้มากอย่างนี้
คำว่า เมื่อเธอปฏิบัติมรรคนั้น ฯลฯ อนุสัยย่อมสิ้นไป อธิบายว่า ภิกษุ
ย่อมละสังโยชน์ได้อย่างไร อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างไร
คือ ย่อมละสังโยชน์ 3 นี้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
อนุสัย 2 นี้ คือ ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
ย่อมละสังโยชน์ 2 นี้ คือ กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ส่วนหยาบ ๆ
อนุสัย 2 นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยส่วนหยาบ ๆ ย่อมสิ้นไปด้วย
สกทาคามิมรรค
ย่อมละสังโยชน์ 2 นี้ คือ กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ
อนุสัย 2 นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ย่อมสิ้นไปด้วย
อนาคามิมรรค
ย่อมละสังโยชน์ 5 นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา
อนุสัย 3 นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตต-
มรรค ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
[3] ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท
เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโลก-
สัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :416 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 1. ยุคนัทธกถา 1. สุตตันตนิทเทส
ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้พิจารณา
เห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมาธิ ฯลฯ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีความหมาย
ว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดย
ความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
2. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
3. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
4. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร
คือ มรรคชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมา-
สังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ฯลฯ มรรคชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะ
ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้
คำว่า เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น อธิบายว่า ภิกษุปฏิบัติ
อย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ ชื่อว่าปฏิบัติ ฯลฯ เมื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าปฏิบัติ ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภิกษุเจริญอย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ ชื่อว่าเจริญ ฯลฯ เมื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าเจริญ ภิกษุเจริญอย่างนี้
คำว่า ทำให้มาก อธิบายว่า ภิกษุทำให้มากอย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ ชื่อว่าทำให้มาก ฯลฯ เมื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าทำให้มาก ภิกษุทำให้มากอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :417 }