เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 1. ยุคนัทธกถา 1. สุตตันตนิทเทส
มรรคนั้น เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง มรรคนั้น ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
4. ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคก็เกิดแก่เธอ เธอปฏิบัติ
เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
ผู้ใดผู้หนึ่งก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ย่อมทำให้แจ้งอรหัตในสำนัก
ของเรา ด้วยมรรคครบทั้ง 4 ประการ หรือมรรคใดมรรคหนึ่งบรรดามรรค 4
ประการนี้”

1. สุตตันตนิทเทส
แสดงพระสูตร
[2] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ เป็น
สมาธิ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดย
ความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะ
จึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญวิปัสสนา
มีสมถะนำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
2. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
3. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
4. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :414 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 1. ยุคนัทธกถา 1. สุตตันตนิทเทส
คือ มรรคชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมา-
สังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะ
กำหนด ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ย่อมเกิด
มรรคชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมา-
วายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมี
สภาวะตั้งมั่น ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมเกิด
มรรคย่อมเกิดอย่างนี้
คำว่า เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น อธิบายว่า ภิกษุปฏิบัติ
อย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อเห็น ชื่อว่าปฏิบัติ
เมื่อพิจารณา ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา
ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าปฏิบัติ
เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่
ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อละ
ธรรมที่ควรละ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าปฏิบัติ ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภิกษุเจริญอย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ ชื่อว่าเจริญ เมื่อเห็น ชื่อว่าเจริญ
เมื่อพิจารณา ชื่อว่าเจริญ เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าเจริญ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา
ชื่อว่าเจริญ เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าเจริญ เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าเจริญ
เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าเจริญ เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าเจริญ เมื่อละธรรมที่ควรละ
ชื่อว่าเจริญ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าเจริญ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าเจริญ ภิกษุเจริญอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :415 }