เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 10. มัณฑเปยยกถา
ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ ความใสคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ ความใสคือ
การประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่า
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความใสคือ
ความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความใสคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ ความใสคือการพิจารณา ชื่อว่า
อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความใส
คือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความใสคือความไม่
หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ
ชื่อว่าสมาธิพละ ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ
ความใสคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่า
วิริยินทรีย์ ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
สมาธินทรีย์ ความใสคือการเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์
ความใสที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ความใสที่ชื่อว่าพละ เพราะ
มีสภาวะไม่หวั่นไหว ความใสที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก ความใสที่ชื่อว่า
มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ ความใสที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
ความใสที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งไว้ ความใสที่ชื่อว่าอิทธิบาท
เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ ความใสที่ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ความใส
ที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ความใสที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ความใสที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมี
สภาวะไม่ล่วงเลยกัน ความใสที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม ความใสที่
ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ความใสที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมี
สภาวะเห็น ความใสที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ความใสที่ชื่อว่าวิชชา
เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง ความใสที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะปล่อย ความใสที่ชื่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :411 }