เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 10. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก
บุคคลทิ้งมิจฉาสังกัปปะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตรึกตรองของสัมมา-
สังกัปปะ เพราะเหตุนั้น สัมมาสังกัปปะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา มิจฉาวาจาเป็นกาก บุคคลทิ้ง
มิจฉาวาจาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการกำหนดของสัมมาวาจา เพราะเหตุนั้น
สัมมาวาจาจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ มิจฉากัมมันตะเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉากัมมันตะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือสมุฏฐานของสัมมากัมมันตะ เพราะ
เหตุนั้น สัมมากัมมันตะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ มิจฉาอาชีวะเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉาอาชีวะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความผ่องแผ้วของสัมมาอาชีวะ
เพราะเหตุนั้น สัมมาอาชีวะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ มิจฉาวายามะเป็นกาก
บุคคลทิ้งมิจฉาวายามะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของสัมมาวายามะ
เพราะเหตุนั้น สัมมาวายามะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ มิจฉาสติเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาสติ
อันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสัมมาสติ เพราะเหตุนั้น สัมมาสติ
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉาสมาธิอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสัมมาสมาธิ เพราะ
เหตุนั้น สัมมาสมาธิจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
[240] ความใสมีอยู่ ความน่าดื่มมีอยู่ กากก็มีอยู่ ความใสคือความน้อม
ใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ความไม่มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส1 ธรรมรส2 วิมุตติรส3
ในสัทธินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม

เชิงอรรถ :
1 อรรถรส หมายถึงสามัญญผล 4 คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
(องฺ.เอกก.อ. 1/335/436)
2 ธรรมรส หมายถึงมรรค 4 คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค
(องฺ.เอกก.อ. 1/335/436)
3 วิมุตติรส หมายถึงอมตนิพพาน (องฺ.เอกก.อ. 1/335/436)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :408 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 10. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยินทรีย์ ความเกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความประมาทเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสตินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์ อวิชชาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรสในปัญญินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความไม่
มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัทธาพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความ
เกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความประมาท
เป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสติพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ อุทธัจจะเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธิพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ อวิชชาเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในปัญญาพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความประมาทเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสติสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อวิชชาเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความเกียจคร้านเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความเร่าร้อนเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในปีติสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :409 }