เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 10. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยินทรีย์ ความเกียจคร้านเป็นกาก บุคคล
ทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของวิริยินทรีย์
เพราะเหตุนั้น วิริยินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความ
ประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสตินทรีย์ เพราะเหตุนั้น
สตินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ อุทธัจจะเป็นกาก บุคคลทิ้ง
อุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสมาธินทรีย์ เพราะ
เหตุนั้น สมาธินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์ อวิชชาเป็นกาก บุคคลทิ้งอวิชชาอัน
เป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเห็นของปัญญินทรีย์ เพราะเหุตนั้น ปัญญินทรีย์
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความ
ไม่มีศรัทธาเป็นกาก บุคคลทิ้งความไม่มีศรัทธาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือ
ความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาของสัทธาพละ เพราะเหตุนั้น สัทธาพละ
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความ
เกียจคร้านเป็นกาก บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความ
ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านของวิริยพละ เพราะเหตุนั้น วิริยพละจึงชื่อว่ามี
ความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความ
ประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่
หวั่นไหวเพราะความไม่ประมาทของสติพละ เพราะเหตุนั้น สติพละจึงชื่อว่ามีความ
ใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ อุทธัจจะเป็นกาก
บุคคลทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะของ
สมาธิพละ เพราะเหตุนั้น สมาธิพละจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :406 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 10. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ อวิชชาเป็นกาก
บุคคลทิ้งอวิชชาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาของ
ปัญญาพละ เพราะเหตุนั้น ปัญญาพละจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความประมาทเป็นกาก
บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสติสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น สติสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อวิชชาเป็นกาก บุคคล
ทิ้งอวิชชาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเลือกเฟ้นของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความเกียจคร้านเป็นกาก
บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของวิริย-
สัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น วิริยสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความเร่าร้อนเป็นกาก บุคคล
ทิ้งความเร่าร้อนอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความแผ่ซ่านของปีติสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น ปีติสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความชั่วหยาบเป็นกาก บุคคล
ทิ้งความชั่วหยาบอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความสงบของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ อุทธัจจะเป็นกาก บุคคล
ทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสมาธิสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการพิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การไม่พิจารณาเป็นกาก
บุคคลทิ้งการไม่พิจารณาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการพิจารณาของอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาทิฏฐิ
อันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเห็นของสัมมาทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น สัมมาทิฏฐิ
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :407 }