เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 10. มัณฑเปยยกถา
10. มัณฑเปยยกถา
ว่าด้วยพรหมจรรย์ที่ใสและน่าดื่ม
[238] ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ใสและน่าดื่ม เมื่อพระศาสดายังปรากฏ
อยู่ ความใสมี 3 ประการ คือ
1. ความใสคือเทศนา 2. ความใสคือผู้รับ
3. ความใสคือพรหมจรรย์
ความใสคือเทศนา เป็นอย่างไร
คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก
การทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ 4 ฯลฯ สติปัฏฐาน 4 ฯลฯ สัมมัปปธาน 4 ฯลฯ
อิทธิบาท 4 ฯลฯ อินทรีย์ 5 ฯลฯ พละ 5 ฯลฯ โพชฌงค์ 7 ฯลฯ การบอก
การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่ง
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นความใสคือเทศนา (1)
ความใสคือผู้รับ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ หรือท่านผู้รู้แจ้ง
พวกใดพวกหนึ่ง นี้เป็นความใสคือผู้รับ (2)
ความใสคือพรหมจรรย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ ได้แก่

1. สัมมาทิฏฐิ 2. สัมมาสังกัปปะ
3. สัมมาวาจา 4. สัมมากัมมันตะ
5. สัมมาอาชีวะ 6. สัมมาวายามะ
7. สัมมาสติ 8. สัมมาสมาธิ

นี้เป็นความใสคือพรหมจรรย์ (3)
[239] ความใสคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ความไม่มีศรัทธาเป็น
กาก1 บุคคลทิ้งความไม่มีศรัทธาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความน้อมใจเชื่อของ
สัทธินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สัทธินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม

เชิงอรรถ :
1 เป็นกาก หมายถึงเป็นของขุ่นมัวเว้นจากความผ่องใส (ขุ.ป.อ. 2/239/213)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :405 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 10. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยินทรีย์ ความเกียจคร้านเป็นกาก บุคคล
ทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของวิริยินทรีย์
เพราะเหตุนั้น วิริยินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความ
ประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสตินทรีย์ เพราะเหตุนั้น
สตินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ อุทธัจจะเป็นกาก บุคคลทิ้ง
อุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสมาธินทรีย์ เพราะ
เหตุนั้น สมาธินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์ อวิชชาเป็นกาก บุคคลทิ้งอวิชชาอัน
เป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเห็นของปัญญินทรีย์ เพราะเหุตนั้น ปัญญินทรีย์
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความ
ไม่มีศรัทธาเป็นกาก บุคคลทิ้งความไม่มีศรัทธาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือ
ความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาของสัทธาพละ เพราะเหตุนั้น สัทธาพละ
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความ
เกียจคร้านเป็นกาก บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความ
ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านของวิริยพละ เพราะเหตุนั้น วิริยพละจึงชื่อว่ามี
ความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความ
ประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่
หวั่นไหวเพราะความไม่ประมาทของสติพละ เพราะเหตุนั้น สติพละจึงชื่อว่ามีความ
ใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ อุทธัจจะเป็นกาก
บุคคลทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะของ
สมาธิพละ เพราะเหตุนั้น สมาธิพละจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :406 }