เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 9. มัคคกถา
(ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม)ละได้แล้ว วิปัลลาส 6 ในวัตถุ 2 ละได้แล้ว1 วิปัลลาส 2
ในวัตถุ 2 ละได้แล้ว2 วิปัลลาส 4 ยังละไม่ได้3 วิปัลลาส 8 ในวัตถุ 4 ละได้แล้ว4
วิปัลลาส 4 ยังละไม่ได้
วิปัลลาสกถา จบ

9. มัคคกถา
ว่าด้วยมรรค
[237] คำว่า มรรค อธิบายว่า ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะว่าอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น เป็น
มรรคและเป็นเหตุ เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำ
กิเลสทั้งหลาย5 เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต

เชิงอรรถ :
1 วิปัลลาส 6 ในวัตถุ 2 ละได้แล้ว หมายถึงวิปัลลาส 3 ประการ คือ สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส และ
ทิฏฐิวิปัลลาส คูณกับ วัตถุ 2 ประการ คือ อนิจฺเจ นิจฺจํ (สิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง) และ อนตฺตนิ อตฺตา
(สิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าอัตตา) เป็นวิปัลลาส 6 ประการ ได้แก่ (1) นิจจสัญญาวิปัลลาส (2) อัตตสัญญาวิปัลลาส
(3) นิจจจิตตวิปัลลาส (4) อัตตจิตตวิปัลลาส (5) นิจจทิฏฐิวิปัลลาส (6) อัตตทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณ
ตามนัย ขุ.ป.อ. 2/236/209)
2 วิปัลลาส 2 ในวัตถุ 2 ละได้แล้ว หมายถึงทิฏฐิวิปัลลาส 1 ประการ คูณกับ วัตถุ 2 ประการ คือ
ทุกฺเข สุขํ (สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข) และ อสุเภ สุภํ (สิ่งที่ไม่งามว่างาม) เป็นวิปัลลาส 2 ประการ ได้แก่
(1) สุขทิฏฐิวิปัลลาส (2) สุภทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. 2/236/209)
3 วิปัลลาส 4 ยังละไม่ได้ หมายถึงวิปัลลาส 2 ประการ คือ สัญญาวิปัลลาส กับ จิตตวิปัลลาส ในวัตถุ 2
คือ ทุกฺเข สุขํ (สภาวะที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข) อสุเภ สุภํ (สภาวะที่ไม่งามว่างาม) ประการละ 2 วิปัลลาส
(2 x 2 เป็น 4 วิปัลลาส) ได้แก่ (1) สุขสัญญาวิปัลลาส (2) สุภสัญญาวิปัลลาส (3) สุขจิตตวิปัลลาส
(4) สุภจิตตวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. 2/236/209)
4 วิปัลลาส 8 ในวัตถุ 8 ละได้แล้ว หมายถึงวิปัลลาส 6 ประการ ในวัตถุ 2 (ในเชิงอรรถที่ 2) รวมกับ
วิปัลลาส 2 ประการ ในวัตถุ 2 ประการ (ในเชิงอรรถที่ 3) เป็นวิปัลลาส 8 ประการ ได้แก่ (1) นิจจสัญญา-
วิปัลลาส (2) อัตตสัญญาวิปัลลาส (3) นิจจจิตตวิปัลลาส (4) อัตตจิตตวิปัลลาส (5) นิจจทิฏฐิวิปัลลาส
(6) สุขทิฏฐิวิปัลลาส (7) อัตตทิฏฐิวิปัลลาส (8) สุภทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. 2/236/209)
5 เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย หมายถึงทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป (ขุ.ป.อ. 2/237/210)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :401 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 9. มัคคกถา
เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้
สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละ
มิจฉาสังกัปปะ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความ
หมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต
เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่
ในนิโรธ
ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละมิจฉา-
วาจา เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดใน
เบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุ
ธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคและเป็นเหตุ
เพื่อละมิจฉากัมมันตะ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อ
ความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต
เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ใน
นิโรธ
ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละ
มิจฉาอาชีวะ ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ เป็นมรรคและ
เป็นเหตุ เพื่อละมิจฉาวายามะ ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็น
มรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาสติ ฯลฯ
ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละ
มิจฉาสมาธิ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจด
ในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อ
บรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่า
สัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละกามราค-
สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :402 }