เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 8. วิปัลลาสกถา
เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฏฐิทำลาย
มีจิตฟุ้งซ่าน มีสัญญาผิด
มีสัญญาในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
มีสัญญาในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
มีสัญญาในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าติดอยู่ในเครื่องประกอบของมาร
ไม่เกษมจากโยคะ ประสบกับความเกิดและความตาย
ท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏ
ก็ในกาลใด พระพุทธเจ้าผู้จุดประกายให้แสงสว่าง
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ในกาลนั้น พระองค์ย่อมประกาศธรรมนี้
ให้สัตว์ถึงความดับทุกข์
สัตว์เหล่านั้นผู้มีปัญญา
ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
กลับได้ความคิดเป็นของตนเอง
ได้เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงโดยความไม่เที่ยง
ได้เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์
ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามโดยความไม่งาม
ยึดถือสัมมาทิฏฐิพ้นทุกข์ทั้งหมดได้
วิปัลลาส 4 ประการนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ1ละได้แล้วก็มี ยังละ
ไม่ได้ก็มี บางประการละได้แล้ว บางประการยังละไม่ได้ สัญญาวิปัลลาส จิตต-
วิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงละได้แล้ว สัญญาในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า
เป็นสุขยังเกิดขึ้น จิตในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุขก็ยังเกิดขึ้น ทิฏฐิวิปัลลาสละได้แล้ว
สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาสในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าอัตตาละได้แล้ว
สัญญาในสิ่งที่ไม่งามว่างามยังเกิดขึ้น จิตในสิ่งที่ไม่งามว่างามก็ยังเกิดขึ้น ทิฏฐิวิปัลลาส

เชิงอรรถ :
1 บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงพระโสดาบัน (ขุ.ป.อ. 2/236/208)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :400 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 9. มัคคกถา
(ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม)ละได้แล้ว วิปัลลาส 6 ในวัตถุ 2 ละได้แล้ว1 วิปัลลาส 2
ในวัตถุ 2 ละได้แล้ว2 วิปัลลาส 4 ยังละไม่ได้3 วิปัลลาส 8 ในวัตถุ 4 ละได้แล้ว4
วิปัลลาส 4 ยังละไม่ได้
วิปัลลาสกถา จบ

9. มัคคกถา
ว่าด้วยมรรค
[237] คำว่า มรรค อธิบายว่า ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะว่าอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น เป็น
มรรคและเป็นเหตุ เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำ
กิเลสทั้งหลาย5 เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต

เชิงอรรถ :
1 วิปัลลาส 6 ในวัตถุ 2 ละได้แล้ว หมายถึงวิปัลลาส 3 ประการ คือ สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส และ
ทิฏฐิวิปัลลาส คูณกับ วัตถุ 2 ประการ คือ อนิจฺเจ นิจฺจํ (สิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง) และ อนตฺตนิ อตฺตา
(สิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าอัตตา) เป็นวิปัลลาส 6 ประการ ได้แก่ (1) นิจจสัญญาวิปัลลาส (2) อัตตสัญญาวิปัลลาส
(3) นิจจจิตตวิปัลลาส (4) อัตตจิตตวิปัลลาส (5) นิจจทิฏฐิวิปัลลาส (6) อัตตทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณ
ตามนัย ขุ.ป.อ. 2/236/209)
2 วิปัลลาส 2 ในวัตถุ 2 ละได้แล้ว หมายถึงทิฏฐิวิปัลลาส 1 ประการ คูณกับ วัตถุ 2 ประการ คือ
ทุกฺเข สุขํ (สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข) และ อสุเภ สุภํ (สิ่งที่ไม่งามว่างาม) เป็นวิปัลลาส 2 ประการ ได้แก่
(1) สุขทิฏฐิวิปัลลาส (2) สุภทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. 2/236/209)
3 วิปัลลาส 4 ยังละไม่ได้ หมายถึงวิปัลลาส 2 ประการ คือ สัญญาวิปัลลาส กับ จิตตวิปัลลาส ในวัตถุ 2
คือ ทุกฺเข สุขํ (สภาวะที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข) อสุเภ สุภํ (สภาวะที่ไม่งามว่างาม) ประการละ 2 วิปัลลาส
(2 x 2 เป็น 4 วิปัลลาส) ได้แก่ (1) สุขสัญญาวิปัลลาส (2) สุภสัญญาวิปัลลาส (3) สุขจิตตวิปัลลาส
(4) สุภจิตตวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. 2/236/209)
4 วิปัลลาส 8 ในวัตถุ 8 ละได้แล้ว หมายถึงวิปัลลาส 6 ประการ ในวัตถุ 2 (ในเชิงอรรถที่ 2) รวมกับ
วิปัลลาส 2 ประการ ในวัตถุ 2 ประการ (ในเชิงอรรถที่ 3) เป็นวิปัลลาส 8 ประการ ได้แก่ (1) นิจจสัญญา-
วิปัลลาส (2) อัตตสัญญาวิปัลลาส (3) นิจจจิตตวิปัลลาส (4) อัตตจิตตวิปัลลาส (5) นิจจทิฏฐิวิปัลลาส
(6) สุขทิฏฐิวิปัลลาส (7) อัตตทิฏฐิวิปัลลาส (8) สุภทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. 2/236/209)
5 เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย หมายถึงทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป (ขุ.ป.อ. 2/237/210)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :401 }