เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน องค์มรรค
อีก 7 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมากัมมันตะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว องค์มรรคอีก 7
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาอาชีวะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ องค์มรรค
อีก 7 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาวายามะ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น องค์มรรคอีก 7 อย่าง
ก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน องค์มรรคอีก 7
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ภาวนานี้จึงชื่อว่า
เอกรสาภาวนา
อาเสวนาภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าสมาธิในเวลาเช้าก็ได้ กลางวันก็ได้ เย็นก็ได้ ก่อน
อาหารก็ได้ หลังอาหารก็ได้ ปฐมยามก็ได้ มัชฌิมยามก็ได้ ปัจฉิมยามก็ได้ ตลอดคืน
ก็ได้ ตลอดวันก็ได้ ตลอดคืนและวันก็ได้ ตลอดข้างขึ้นและข้างแรมก็ได้ ตลอดฤดูฝน
ก็ได้ ฤดูหนาวก็ได้ ฤดูร้อนก็ได้ ตลอดปฐมวัยก็ได้ มัชฌิมวัยก็ได้ ปัจฉิมวัยก็ได้
ภาวนานี้จึงชื่อว่าอาเสวนาภาวนา
ภาวนา 4 อย่างเหล่านี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :40 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
[28] อีกประการหนึ่ง ภาวนา 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น
ไม่ล่วงเลยกัน
2. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
3. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
4. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่
ล่วงเลยกัน เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อละพยาบาท (ความคิดร้าย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละถีนมิทธะ (ความหดหู่) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญา
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอวิกเขปะ
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง
ธัมมววัตถาน ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งญาณ ย่อม
ไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอรติ (ความไม่ยินดี) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งปามุชชะ ย่อม
ไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละนิวรณ์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน ย่อมไม่
ล่วงเลยกันและกัน ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :41 }