เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] มาติกา
[35] ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของผู้มีสัมปชัญญะ ชื่อ
ว่าปรินิพพานญาณ (ญาณในปรินิพพาน)
[36] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาดโดยชอบและ
ดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมที่สงบและเป็นประธาน)
[37] ปัญญาในสภาวะแต่ละอย่าง สภาวะต่าง ๆ สภาวะเดียวและเดช ชื่อว่า
สัลเลขัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมเป็นเครื่องขัดเกลา)
[38] ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ
(ญาณในการปรารภความเพียร)
[39] ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถสันทัสสนญาณ (ญาณใน
การเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งธรรม)
[40] ปัญญาในการรวมธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหมวดเดียวกัน ในการรู้แจ้งสภาวะ
ต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าทัสสนวิสุทธิญาณ (ญาณในความหมดจด
แห่งทัสสนะ)
[41] ปัญญาที่รู้ชัด ชื่อว่าขันติญาณ (ญาณในธรรมที่พอใจ)
[42] ปัญญาที่ถูกต้องธรรม ชื่อว่าปริโยคาหนญาณ (ญาณในการหยั่งลงสู่ธรรม)
[43] ปัญญาในการรวมปัจจัย ชื่อว่าปเทสวิหารญาณ (ญาณในวิหารธรรมส่วน
หนึ่ง)
[44] ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ (ญาณในการ
หลีกออกจากอกุศลด้วยสัญญา)
[45] ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากสภาวะต่าง ๆ ชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ
(ญาณในการหลีกออกจากอกุศลด้วยการคิดถึงกุศล)
[46] ปัญญาในการอธิษฐาน ชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออก
จากอกุศลด้วยกุศลที่อธิษฐาน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :4 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] มาติกา
[47] ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก
อกุศลด้วยความรู้)
[48] ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก
อกุศลด้วยการสละ)
[49] ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก
ภาวะที่ไม่แท้ด้วยภาวะที่แท้)
[50] ปัญญาในสภาวะที่สำเร็จ ด้วยการกำหนดกายและจิตเข้าด้วยกัน ด้วย
อำนาจการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา ชื่อว่าอิทธิวิธญาณ (ญาณที่
ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้)
[51] ปัญญาในการหยั่งลงสู่สัททนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว
ด้วยอำนาจการแผ่วิตกไป ชื่อว่าโสตธาตุวิสุทธิญาณ (ญาณในความ
หมดจดแห่งโสตธาตุ)
[52] ปัญญาในการหยั่งลงสู่วิญญาณจริยาที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว
ด้วยอำนาจความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เพราะการแผ่ไปแห่งจิต 3
ประเภท ชื่อว่าเจโตปริยญาณ (ญาณที่ทำให้กำหนดใจผู้อื่นได้)
[53] ปัญญาในการหยั่งลงสู่ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตามปัจจัย ด้วยอำนาจการ
แผ่ไปแห่งกรรมที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าปุพเพนิวาสานุสสติ-
ญาณ (ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้)
[54] ปัญญาในการเห็นรูปนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียวด้วยอำนาจ
แสงสว่าง ชื่อว่าทิพพจักขุญาณ (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์)
[55] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ 3 ประการ โดยอาการ 64 ชื่อว่า
อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ)
[56] ปัญญาในสภาวะที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าทุกขญาณ (ญาณในทุกข์)
[57] ปัญญาในสภาวะที่ควรละ ชื่อว่าสมุทยญาณ (ญาณในสมุทัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :5 }