เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในชรา
และมรณะพ้นจากปณิธิว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นี้
เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ นี้เป็นวิโมกข์ (1)
[230] ธรรมที่เป็นประธาน เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งการตรัสรู้ เป็นกุศล ไม่มีโทษ เกิดในภาวนานั้น นี้
เป็นธรรมที่เป็นประธาน (2)
ธรรมที่เป็นประธานแห่งวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ นิพพานซึ่งเป็นความดับ เป็นอารมณ์ของธรรมเหล่านั้น นี้เป็นธรรมที่
เป็นประธานแห่งวิโมกข์ (3)
ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อกุศลมูล 3 ทุจริต 3 อกุศลธรรมแม้ทุกอย่างเป็นข้าศึกต่อวิโมกข์ นี้
เป็นธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวิโมกข์ (4)
ธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ กุศลมูล 3 สุจริต 3 กุศลธรรมแม้ทุกอย่างเป็นธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์
นี้เป็นธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์ (5)
วิโมกขวิวัฏ เป็นอย่างไร
คือ สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ สัจจวิวัฏ
พระโยคาวจรเมื่อหมายรู้ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏ เมื่อ
คิดย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏ เมื่อรู้แจ้งย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏ เมื่อกระทำญาณย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าญาณวิวัฏ
เมื่อสละย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏ ย่อมหลีกไปในสภาวะแท้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีเจโตวิวัฏ ในขณะ
แห่งมรรคใดมีเจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :390 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีญาณวิวัฏ ในขณะแห่ง
มรรคใดมีญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรค
นั้นย่อมมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมี
สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ
เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ โมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัจจวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัจจวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ
ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ นี้เป็นวิโมกขวิวัฏ (6)
การเจริญวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งปฐมฌาน การปฏิบัติ การเจริญ
การทำให้มากซึ่งทุติยฌาน การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งตติยฌาน การ
ปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งจตุตถฌาน การปฏิบัติ การเจริญ การทำ
ให้มากซึ่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่ง
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ซึ่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ การปฏิบัติ การเจริญ
การทำให้มากซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ การปฏิบัติ การเจริญ การทำ
ให้มากซึ่งโสดาปัตติมรรค การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งสกทาคามิมรรค
การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งอนาคามิมรรค การปฏิบัติ การเจริญ
การทำให้มากซึ่งอรหัตตมรรค นี้เป็นการเจริญวิโมกข์ (7)
ความสงบระงับแห่งวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้ปฐมฌานหรือวิบากแห่งปฐมฌาน การได้ทุติยฌานหรือวิบากแห่ง
ทุติยฌาน การได้ตติยฌานหรือวิบากแห่งตติยฌาน ฯลฯ การได้จตุตถฌาน ฯลฯ
อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตน-
สมาบัติ ฯลฯ การได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ โสดาปัตติผลแห่งโสดาปัตติมรรค ฯลฯ สกทาคามิผล
แห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิผลแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตผลแห่ง
อรหัตตมรรค นี้เป็นความสงบระงับแห่งวิโมกข์ (8)
วิโมกขกถา จบ
ตติยภาณวาร จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :391 }