เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ โพชฌงค์
อีก 6 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปีติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแผ่ซ่าน โพชฌงค์
อีก 6 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปีติสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสงบ โพชฌงค์อีก
6 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน โพชฌงค์
อีก 6 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะพิจารณา โพชฌงค์
อีก 6 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น องค์มรรคอีก 7 อย่าง
ก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง องค์มรรค
อีก 7 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาสังกัปปะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด องค์มรรคอีก 7
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาวาจา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :39 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน องค์มรรค
อีก 7 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมากัมมันตะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว องค์มรรคอีก 7
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาอาชีวะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ องค์มรรค
อีก 7 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาวายามะ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น องค์มรรคอีก 7 อย่าง
ก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน องค์มรรคอีก 7
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ภาวนานี้จึงชื่อว่า
เอกรสาภาวนา
อาเสวนาภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าสมาธิในเวลาเช้าก็ได้ กลางวันก็ได้ เย็นก็ได้ ก่อน
อาหารก็ได้ หลังอาหารก็ได้ ปฐมยามก็ได้ มัชฌิมยามก็ได้ ปัจฉิมยามก็ได้ ตลอดคืน
ก็ได้ ตลอดวันก็ได้ ตลอดคืนและวันก็ได้ ตลอดข้างขึ้นและข้างแรมก็ได้ ตลอดฤดูฝน
ก็ได้ ฤดูหนาวก็ได้ ฤดูร้อนก็ได้ ตลอดปฐมวัยก็ได้ มัชฌิมวัยก็ได้ ปัจฉิมวัยก็ได้
ภาวนานี้จึงชื่อว่าอาเสวนาภาวนา
ภาวนา 4 อย่างเหล่านี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :40 }