เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลสขันธ์และจากนิมิต
ภายนอกและมัคคญาณมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียว
กัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลสขันธ์และจากนิมิต
ภายนอกและมัคคญาณมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
[228] วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการเท่าไร ย่อมมีในขณะ
เดียวกันด้วยอาการเท่าไร
คือ วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ 4 อย่าง ย่อมมีในขณะ
เดียวกันด้วยอาการ 7 อย่าง
วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ 4 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. ด้วยสภาวะเป็นใหญ่ 2. ด้วยสภาวะตั้งมั่น
3. ด้วยสภาวะน้อมจิตไป 4. ด้วยสภาวะนำออกไป
วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะเป็นใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์เป็นใหญ่ เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นใหญ่ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
สุญญตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะเป็นใหญ่อย่างนี้
วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะตั้งมั่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยอำนาจแห่ง
อนิมิตตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยอำนาจแห่ง
อัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยอำนาจแห่ง
สุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะตั้งมั่นอย่างนี้
วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะน้อมจิตไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งอนิมิตต-
วิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์
ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาย่อมน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์
3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะน้อมจิตไปอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :385 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะนำออกไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานซึ่งเป็นความ
ดับด้วยอำนาจแห่งอนิมิตตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมนำจิตออกไปสู่
นิพพานซึ่งเป็นความดับด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็น
อนัตตาย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานซึ่งเป็นความดับด้วยอำนาจแห่งสุญญตวิโมกข์
วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะนำออกไปอย่างนี้
วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ 4 อย่างนี้
วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ 7 อย่าง อะไรบ้าง คือ

1. ด้วยสภาวะประชุมลง 2. ด้วยสภาวะบรรลุ
3. ด้วยสภาวะได้ 4. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง
5. ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง 6. ด้วยสภาวะถูกต้อง
7. ด้วยสภาวะตรัสรู้

วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยสภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะบรรลุ
ด้วยสภาวะได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง
ด้วยสภาวะตรัสรู้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมพ้นจากนิมิต เพราะเหตุนั้น
วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลพ้นจากอารมณ์ใดย่อมไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด
เป็นผู้ว่างจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคล
ว่างจากนิมิตใด เป็นผู้ไม่มีนิมิตเพราะนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็น
อนิมิตตวิโมกข์ วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยสภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะ
บรรลุ ด้วยสภาวะได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง
ด้วยสภาวะตรัสรู้อย่างนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมพ้นจากปณิธิ (ความตั้งมั่น) เพราะเหตุนั้น
วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในทุกข์ใด เป็นผู้ว่างจากทุกข์นั้น
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลว่างจากนิมิตใด เป็นผู้ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :386 }