เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ
สังขารุเปกขาญาณมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ
สังขารุเปกขาญาณมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตออกจากอะไร แล่นไปในที่ไหน
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตออกจากอะไร แล่นไปในที่ไหน เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นอนัตตา จิตออกจากอะไร แล่นไปในที่ไหน
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตออกจากนิมิต แล่นไปใน
นิพพานซึ่งไม่มีนิมิต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตออกจากความเป็นไป
แล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเป็นไป เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา จิตออก
จากนิมิตและความเป็นไป แล่นไปในนิพพานธาตุซึ่งเป็นความดับ ซึ่งไม่มีนิมิตและ
ความเป็นไป
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอกและโคตรภู-
ธรรมมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่
พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอกและโคตรภู-
ธรรม มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมหลุดพ้นด้วยวิโมกข์อะไร ผู้มนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ย่อมหลุดพ้นด้วยวิโมกข์อะไร ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมหลุดพ้นด้วยวิโมกข์อะไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง ย่อมหลุดพ้นด้วยอนิมิตตวิโมกข์ ผู้
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมหลุดพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความ
เป็นอนัตตาย่อมหลุดพ้นด้วยสุญญตวิโมกข์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :384 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลสขันธ์และจากนิมิต
ภายนอกและมัคคญาณมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียว
กัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลสขันธ์และจากนิมิต
ภายนอกและมัคคญาณมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
[228] วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการเท่าไร ย่อมมีในขณะ
เดียวกันด้วยอาการเท่าไร
คือ วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ 4 อย่าง ย่อมมีในขณะ
เดียวกันด้วยอาการ 7 อย่าง
วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ 4 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. ด้วยสภาวะเป็นใหญ่ 2. ด้วยสภาวะตั้งมั่น
3. ด้วยสภาวะน้อมจิตไป 4. ด้วยสภาวะนำออกไป
วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะเป็นใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์เป็นใหญ่ เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นใหญ่ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
สุญญตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะเป็นใหญ่อย่างนี้
วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะตั้งมั่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยอำนาจแห่ง
อนิมิตตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยอำนาจแห่ง
อัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยอำนาจแห่ง
สุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะตั้งมั่นอย่างนี้
วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะน้อมจิตไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งอนิมิตต-
วิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์
ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาย่อมน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์
3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะน้อมจิตไปอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :385 }