เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ 9 อย่างนี้ บุคคลเมื่อรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ
9 อย่างนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจ
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจสุญญตวิโมกข์
[227] บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงจะรู้เห็นธรรมเหล่าไหนตามความ
เป็นจริง สัมมาทัสสนะ (ความเห็นชอบ) เป็นอย่างไร สังขารทั้งปวงชื่อว่าบุคคล
เห็นดีแล้วโดยความไม่เที่ยงด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นเป็นอย่างไร บุคคล
ละความสงสัยได้ที่ไหน
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์จะรู้เห็นธรรมเหล่าไหนตามความเป็นจริง
สัมมาทัสสนะเป็นอย่างไร สังขารทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์
ด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นเป็นอย่างไร บุคคลละความสงสัยได้ที่ไหน
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาจะรู้เห็นธรรมเหล่าไหนตามความเป็นจริง
สัมมาทัสสนะเป็นอย่างไร ธรรมทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นอนัตตา
ด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นเป็นอย่างไร บุคคลละความสงสัยได้ที่ไหน
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงจะรู้เห็นนิมิตตามความเป็นจริง เพราะ
รู้เห็นนิมิตตามความเป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัสสนะ สังขารทั้งปวงชื่อว่า
บุคคลเห็นดีแล้วโดยความไม่เที่ยงด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสสะนั้นอย่างนี้
บุคคลละความสงสัยได้ที่สัมมาทัสสนะนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์จะรู้เห็นความเป็นไปตามความเป็นจริง
เพราะรู้เห็นความเป็นไปตามความเป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัสสนะ สังขาร
ทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์ด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้น
อย่างนี้ บุคคลละความสงสัยได้ที่สัมมาทัสสนะนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา จะรู้เห็นนิมิตและความเป็นไปตามความ
เป็นจริง เพราะรู้เห็นนิมิตและความเป็นไปตามความเป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สัมมาทัสสนะ ธรรมทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นอนัตตาด้วยการ
อนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นอย่างนี้ บุคคลละความสงสัยได้ที่สัมมาทัสสนะนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :382 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัสสนะ และกังขาวิตรณะมีอรรถ
ต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัสสนะ และกังขาวิตรณะมีอรรถ
อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อะไรปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ อะไรปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา อะไรปรากฏโดยความเป็นภัย
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง นิมิตปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเป็นไปปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดย
ความเป็นอนัตตา นิมิตและความเป็นไปปรากฏโดยความเป็นภัย
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัย อาทีนว-
ญาณ และนิพพิทามีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัย อาทีนว-
ญาณ และนิพพิทามีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสสนาและสุญญตานุปัสสนามีอรรถต่างกันและ
มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสสนาและสุญญตานุปัสสนามีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณคือการพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ญาณคือการพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณคือการพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณคือการพิจารณานิมิตย่อม
เกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ญาณคือการพิจารณาความเป็นไปย่อม
เกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณคือการพิจารณานิมิตและความ
เป็นไปย่อมเกิดขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :383 }