เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ 9 อย่างนี้ บุคคลเมื่อรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ
9 อย่างนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจ
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจสุญญตวิโมกข์
[227] บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงจะรู้เห็นธรรมเหล่าไหนตามความ
เป็นจริง สัมมาทัสสนะ (ความเห็นชอบ) เป็นอย่างไร สังขารทั้งปวงชื่อว่าบุคคล
เห็นดีแล้วโดยความไม่เที่ยงด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นเป็นอย่างไร บุคคล
ละความสงสัยได้ที่ไหน
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์จะรู้เห็นธรรมเหล่าไหนตามความเป็นจริง
สัมมาทัสสนะเป็นอย่างไร สังขารทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์
ด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นเป็นอย่างไร บุคคลละความสงสัยได้ที่ไหน
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาจะรู้เห็นธรรมเหล่าไหนตามความเป็นจริง
สัมมาทัสสนะเป็นอย่างไร ธรรมทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นอนัตตา
ด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นเป็นอย่างไร บุคคลละความสงสัยได้ที่ไหน
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงจะรู้เห็นนิมิตตามความเป็นจริง เพราะ
รู้เห็นนิมิตตามความเป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัสสนะ สังขารทั้งปวงชื่อว่า
บุคคลเห็นดีแล้วโดยความไม่เที่ยงด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสสะนั้นอย่างนี้
บุคคลละความสงสัยได้ที่สัมมาทัสสนะนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์จะรู้เห็นความเป็นไปตามความเป็นจริง
เพราะรู้เห็นความเป็นไปตามความเป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัสสนะ สังขาร
ทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์ด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้น
อย่างนี้ บุคคลละความสงสัยได้ที่สัมมาทัสสนะนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา จะรู้เห็นนิมิตและความเป็นไปตามความ
เป็นจริง เพราะรู้เห็นนิมิตและความเป็นไปตามความเป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สัมมาทัสสนะ ธรรมทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นอนัตตาด้วยการ
อนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นอย่างนี้ บุคคลละความสงสัยได้ที่สัมมาทัสสนะนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :382 }