เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น อินทรีย์อีก 4 อย่าง
ก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มี
ศรัทธา พละอีก 4 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจแห่งสัทธาพละ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
พละอีก 4 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งวิริยพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท
พละอีก 4 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสติพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ
พละอีก 4 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสมาธิพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัญญาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา
พละอีก 4 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปัญญาพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น โพชฌงค์อีก 6
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสติสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้น โพชฌงค์
อีก 6 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :38 }