เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ วิโมกข์อะไรเป็น
ใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ในเวลารู้แจ้ง วิโมกข์
อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมาย
ว่าอย่างไร
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ วิโมกข์อะไรเป็น
ใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ในเวลารู้แจ้ง วิโมกข์
อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
[225] คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ
อนิมิตตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นมี 2 ประการ
เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
มีรสเป็นอย่างเดียวกัน แม้ในเวลารู้แจ้ง อนิมิตตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่ง
การรู้แจ้งที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นมี 2 ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าเห็น แม้บุคคลผู้รู้แจ้งอย่างนี้ ก็ชื่อว่าเจริญ
แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่ารู้แจ้ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :379 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ อัปปณิหิตวิโมกข์
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี 2 ประการ เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรส
เป็นอย่างเดียวกัน แม้ในเวลารู้แจ้ง อัปปณิหิตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้
แจ้งที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี 2 ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญ-
มัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่ารู้แจ้ง
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ สุญญตวิโมกข์เป็นใหญ่
วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้นมี 2 ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
แม้ในเวลารู้แจ้ง สุญญตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตาม
สุญญตวิโมกข์นั้นมี 2 ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่ารู้แจ้ง
[226] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะ
วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไรมี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะ
อนิมิตตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็น
ทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะอัปปณิหิตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคล
จึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สุญญตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง
เพราะสุญญตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ
บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลชื่อว่าทำให้แจ้ง
เพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขี บุคคลชื่อว่าบรรลุแล้ว
เพราะเป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลถูกต้องฌานก่อน ภายหลังจึงทำให้แจ้ง
นิพพานซึ่งเป็นความดับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขี ญาณว่า “สังขารเป็นทุกข์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :380 }