เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ 4 อย่าง บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ 4
อย่าง ได้แก่
1. รู้แจ้งทุกขสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้
2. รู้แจ้งสมุทยสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการละ
3. รู้แจ้งนิโรธสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้ง
4. รู้แจ้งมัคคสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการเจริญ
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ 4 อย่างนี้ บุคคลเมื่อรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ 4
อย่างนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์
เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ 9 อย่าง บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ 9
อย่าง ได้แก่
1. รู้แจ้งทุกขสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้
2. รู้แจ้งสมุทยสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการละ
3. รู้แจ้งนิโรธสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้ง
4. รู้แจ้งมัคคสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการเจริญ
5. รู้แจ้งธรรมทั้งปวงด้วยความรู้ยิ่ง
6. รู้แจ้งสังขารทั้งปวงด้วยการกำหนดรู้
7. รู้แจ้งอกุศลธรรมทั้งปวงด้วยการละ
8. รู้แจ้งมรรค 4 ด้วยการเจริญ
9. รู้แจ้งนิโรธด้วยการทำให้แจ้ง
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ 9 อย่างนี้ บุคคลเมื่อรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ 9
อย่างนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์
เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
ทุติยภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :376 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
[223] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา สังขารปรากฏอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏโดยความสิ้นไป เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา สังขารปรากฏโดยสุญญตะ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยอะไร เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ จิตมากด้วยอะไร เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา จิตมากด้วยอะไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยความน้อมใจเชื่อ เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา จิตมากด้วยความรู้
บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้วิโมกข์
อะไร ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้วิโมกข์อะไร ผู้
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้วิโมกข์อะไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้
อนิมิตตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้
อัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้
สุญญตวิโมกข์
[224] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ
วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครเจริญ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ วิโมกข์อะไร
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครเจริญ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :377 }