เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ ได้สกทาคามิ-
มรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ ได้อนาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้ง
อนาคามิผล ฯลฯ ได้อรหัตตมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นกายสักขี อินทรีย์ที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี 4 ประการ
เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
อินทรีย์ 4 เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ บุคคล
เหล่าใดเหล่าหนึ่งทำให้แจ้งอรหัตตผลด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้น
ทั้งหมดเป็นกายสักขี
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เป็นธรรมานุสารี1 อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี 4 ประการ ฯลฯ เป็น
สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ 4 ย่อมมีได้ด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ บุคคล
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ บุคคลเหล่านั้น
ทั้งหมดเป็นธรรมานุสารี
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เป็นทิฏฐิปัตตะ อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี 4 ประการ ฯลฯ
เป็นสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ 4 เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอำนาจ
ปัญญินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นทิฏฐิปัตตะ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล
ฯลฯ ได้อนาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ ได้อรหัตตมรรค ฯลฯ
ทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นทิฏฐิปัตตะ อินทรีย์ที่

เชิงอรรถ :
1 ธรรมานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า บรรลุผล
แล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (องฺ.ทุก.อ. 2/49/55, องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/162)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :373 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี 4 ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ 4 เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญ
ดีแล้วด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งทำให้แจ้งอรหัตตผลด้วย
อำนาจปัญญินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นทิฏฐิปัตตะ
[222] บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญซึ่ง
เนกขัมมะ บรรลุแล้ว กำลังบรรลุ หรือจักบรรลุ ถึงแล้ว กำลังถึง หรือจักถึง ได้แล้ว
กำลังได้ หรือจักได้ รู้แจ้งแล้ว กำลังรู้แจ้ง หรือจักรู้แจ้ง ทำให้แจ้งแล้ว กำลัง
ทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว กำลังถูกต้อง หรือจักถูกต้อง ถึงความ
ชำนาญแล้ว กำลังถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จแล้ว
กำลังถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ ถึงความแกล้วกล้าแล้ว กำลังถึง
ความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุต
ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วย
อำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญซึ่งอพยาบาท ฯลฯ
อาโลกสัญญา ฯลฯ อวิกเขปะ ฯลฯ ธัมมววัตถาน ฯลฯ ญาณ ฯลฯ ปามุชชะ
ฯลฯ ปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ
อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญ-
ญายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนา
ฯลฯ ทุกขานุปัสสนา ฯลฯ อนัตตานุปัสสนา ฯลฯ นิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ
วิราคานุปัสสนา ฯลฯ นิโรธานุปัสสนา ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ฯลฯ
ขยานุปัสสนา ฯลฯ วยานุปัสสนา ฯลฯ วิปริณามานุปัสสนา ฯลฯ อนิมิตตา-
นุปัสสนา ฯลฯ อัปปณิหิตานุปัสสนา ฯลฯ สุญญตานุปัสสนา ฯลฯ อธิปัญญา-
ธัมมวิปัสสนา ฯลฯ ยถาภูตญาณทัสสนะ ฯลฯ อาทีนวานุปัสสนา ฯลฯ
ปฏิสังขานุปัสสนา ฯลฯ วิวัฏฏนานุปัสสนา ฯลฯ โสดาปัตติมรรค ฯลฯ
สกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลัง
เจริญ หรือจักเจริญซึ่งอรหัตตมรรค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :374 }