เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี บุคคล 3 จำพวกนี้เป็นกายสักขีด้วยอำนาจ
สมาธินทรีย์อย่างนี้
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคล 3 จำพวกนี้เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจ
ปัญญินทรีย์อย่างนี้
บุคคล 3 จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุต 1 กายสักขี 1 ทิฏฐิปัตตะ 1 พึงเป็น
สัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักขีก็ได้ เป็นทิฏฐิปัตตะก็ได้ด้วยอำนาจวัตถุ(และ)ด้วยปริยาย
อย่างนี้
บุคคล 3 จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุต 1 กายสักขี 1 ทิฏฐิปัตตะ 1 ฯลฯ
พึงเป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง เป็นทิฏฐิปัตตะอย่างหนึ่ง
ด้วยประการฉะนี้
ถามว่า พึงเป็นอย่างไร
ตอบว่า เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคล 3 จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุต 1
กายสักขี 1 ทิฏฐิปัตตะ 1 พึงเป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง
เป็นทิฏฐิปัตตะอย่างหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :371 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
สัทธานุสารี1 อินทรีย์ที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี 4 ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ 4
ย่อมมีด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้โสดาปัตติมรรคด้วยอำนาจ
สัทธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเป็นสัทธานุสารี
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เป็นสัทธาธิมุต อินทรีย์ที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมี 4 ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ 4 เป็น
อันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุต
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล
ได้อนาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ ได้อรหัตตมรรค ฯลฯ ทำให้
แจ้งอรหัตตผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุต อินทรีย์ที่เป็นไป
ตามสัทธินทรีย์นั้นมี 4 ประการ ฯลฯ เป็นสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ 4 เป็นอัน
บุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ทำให้แจ้งอรหัตตผลด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุต
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า เป็นกายสักขี อินทรีย์ที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี 4 ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย การเจริญ
อินทรีย์ 4 ย่อมมีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้โสดาปัตติมรรค
ด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกายสักขี

เชิงอรรถ :
1 สัทธานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามศรัทธา ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้าบรรลุ
ผลแล้วกลายเป็นศรัทธาวิมุตติ (องฺ.ทุก.อ. 2/49/55,องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/162)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :372 }