เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
ภาวนาแม้อีก 4 อย่าง คือ
1. เอสนาภาวนา
2. ปฏิลาภภาวนา
3. เอกรสาภาวนา
4. อาเสวนาภาวนา
เอสนาภาวนา เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิอยู่ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในส่วนเบื้องต้น
นั้นมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้จึงชื่อว่าเอสนาภาวนา
ปฏิลาภภาวนา เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิแล้ว ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอัปปนานั้น
ไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้จึงชื่อว่าปฏิลาภภาวนา
เอกรสาภาวนา เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อีก 4
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ อินทรีย์อีก
4 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น อินทรีย์อีก 4 อย่างก็มี
รสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมี
ความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน อินทรีย์อีก 4
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :37 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น อินทรีย์อีก 4 อย่าง
ก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มี
ศรัทธา พละอีก 4 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจแห่งสัทธาพละ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
พละอีก 4 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งวิริยพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท
พละอีก 4 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสติพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ
พละอีก 4 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสมาธิพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัญญาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา
พละอีก 4 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปัญญาพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น โพชฌงค์อีก 6
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสติสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้น โพชฌงค์
อีก 6 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :38 }