เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ในเวลารู้แจ้งปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี 4 ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมาย
ว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าเห็น ด้วยอาการ
อย่างนี้ แม้บุคคลผู้รู้แจ้งก็ชื่อว่าย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าย่อมรู้แจ้ง
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ สมาธินทรีย์
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี 4 ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในเวลารู้แจ้งปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี 4 ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย
เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าเห็น ด้วย
อาการอย่างนี้ แม้บุคคลผู้รู้แจ้งก็ชื่อว่าย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าย่อมรู้แจ้ง
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ปัญญินทรีย์
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี 4 ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในเวลารู้แจ้งปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี 4 ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย
เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าเห็น ด้วย
อาการอย่างนี้ แม้บุคคลผู้รู้แจ้งก็ชื่อว่าย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าย่อมรู้แจ้ง
[221] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง
เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่งบุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่งบุคคลจึงเป็น
กายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะ
อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่งบุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :369 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัทธาธิมุต บุคคลชื่อว่าทำให้แจ้ง เพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ
ว่ากายสักขี บุคคลชื่อว่าบรรลุแล้ว เพราะเป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้ใจเชื่อ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลถูกต้อง
ฌานก่อน ภายหลังจึงทำให้แจ้งนิพพานซึ่งเป็นความดับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
กายสักขี ญาณว่า “สังขารเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข” เป็นญาณอันบุคคลเห็นแล้ว
ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิ-
ปัตตะ บุคคล 3 จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุต1 1 กายสักขี2 1 ทิฏฐิปัตตะ3 1 พึงเป็น
สัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักขีก็ได้ เป็นทิฏฐิปัตตะก็ได้ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วย
ปริยาย
คำว่า พึงเป็น อธิบายว่า พึงเป็นอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต บุคคล 3 จำพวกนี้เป็นสัทธาธิมุตด้วย
อำนาจสัทธินทรีย์อย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 สัทธาธิมุต หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป พ้นด้วยศรัทธา (องฺ.ติก.อ. 2/21/98,
องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/161-162)
2 กายสักขี หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป เป็นผู้เห็นประจักษ์กับตัว สัมผัสวิโมกข์ 8
ด้วยนามกายแล้วสามารถจะทำให้แจ้งพระนิพพาน (องฺ.ติก.อ. 2/21/98, องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/161)
3 ทิฏฐิปัตตะ หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป มีสัมมาทิฏฐิ เข้าใจอริยสัจถูกต้อง
(องฺ.ติก.อ. 2/219/8, องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/161-162)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :370 }