เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรส1เป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ อินทรีย์อะไรเป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญ-
มัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี 4 ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรม
มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ สมาธินทรีย์เป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี 4 ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติ
ชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี 4 ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรส
เป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด

เชิงอรรถ :
1 รส ในที่นี้หมายถึงวิมุตติรส (ขุ.ป.อ. 2/220/188)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :367 }