เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
สังขารปรากฏอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏโดยความสิ้นไป เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา สังขารปรากฏโดยสุญญตะ1
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยธรรมอะไร เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยธรรมอะไร เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
จิตมากด้วยธรรมอะไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยความน้อมใจเชื่อ เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา จิตมากด้วยความรู้
บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้อินทรีย์
อะไร ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้อินทรีย์อะไร ผู้
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้อินทรีย์อะไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้
สัทธินทรีย์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้สมาธินทรีย์
ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้ปัญญินทรีย์
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อะไร
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ อินทรีย์อะไรเป็นใหญ่
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ อินทรีย์อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์

เชิงอรรถ :
1 สุญญตะ หมายถึงเว้นจากอัตตา (ขุ.ป.อ. 2/219/186)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :366 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรส1เป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ อินทรีย์อะไรเป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญ-
มัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี 4 ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรม
มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ สมาธินทรีย์เป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี 4 ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติ
ชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี 4 ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรส
เป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด

เชิงอรรถ :
1 รส ในที่นี้หมายถึงวิมุตติรส (ขุ.ป.อ. 2/220/188)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :367 }