เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ญาณ 4 นี้ คือ
1. ทุกขานุปัสสนาญาณ
2. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
3. วิราคานุปัสสนาญาณ
4. อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทาน 1
คือ กามุปาทาน
ญาณ 2 นี้ คือ
1. นิโรธานุปัสสนาญาณ
2. ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทาน 4 คือ
1. กามุปาทาน
2. ทิฏฐุปาทาน
3. สีลัพพตุปาทาน
4. อัตตวาทุปาทาน
นี้ชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ (68)
ปฐมภาณวารแห่งวิโมกขกถา จบ
[219] ประตูสู่วิโมกข์ 3 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อการนำออกจากโลก คือ
1. การออกจากโลกมีได้ เพราะพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ทั้งโดยส่วนเบื้อง
ต้นและส่วนเบื้องปลาย และเพราะจิตดำเนินไปในอนิมิตตธาตุ
2. การออกจากโลกมีได้ เพราะทำใจให้อาจหาญในสังขารทั้งปวง และเพราะ
จิตดำเนินไปในอัปปณิหิตธาตุ
3. การออกจากโลกมีได้ เพราะพิจารณาเห็นธรรมทั้งปวงโดยความเป็นฝ่ายอื่น
และเพราะจิตดำเนินไปในสุญญตธาตุ
ประตูสู่วิโมกข์ 3 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อการนำออกจากโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :365 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
สังขารปรากฏอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏโดยความสิ้นไป เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา สังขารปรากฏโดยสุญญตะ1
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยธรรมอะไร เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยธรรมอะไร เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
จิตมากด้วยธรรมอะไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยความน้อมใจเชื่อ เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา จิตมากด้วยความรู้
บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้อินทรีย์
อะไร ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้อินทรีย์อะไร ผู้
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้อินทรีย์อะไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้
สัทธินทรีย์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้สมาธินทรีย์
ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้ปัญญินทรีย์
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อะไร
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ อินทรีย์อะไรเป็นใหญ่
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ อินทรีย์อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์

เชิงอรรถ :
1 สุญญตะ หมายถึงเว้นจากอัตตา (ขุ.ป.อ. 2/219/186)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :366 }