เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาณวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้ ย่อมหลุดพ้น
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลาย ย่อมไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ธรรม พระอรหันต์ย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและกิเลสที่กำลัง
ถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์
นี้ชื่อว่าฌานวิโมกข์ ฯ (67)
[218] อนุปาทาจิตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ 1 เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ 10 อนุปาทาจิตต-
วิโมกข์ 10 เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ 1 ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าสุข เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าอัตตา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณ พ้นจาก
อุปาทานว่านันทิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทานว่าราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ นิโรธานุ-
ปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าสมุทัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าอาทานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่านิมิต เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทาน
ว่าปณิธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทานว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ 1 เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ 10 อนุปาทาจิตตวิโมกข์ 10
เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ 1 ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากอุปาทานว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากอุปาทานว่าอภินิเวส
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :361 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ 1 เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ 10 อนุปาทาจิตตวิโมกข์ 10
เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ 1 ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ใน
วิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาญาณในชราและมรณะ พ้นจาก
อุปาทานว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุ-
ปัสสนาญาณในชราและมรณะ พ้นจากอุปาทานว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนุปาทาจิตตวิโมกข์
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ 1 เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ 10 อนุปาทาจิตต-
วิโมกข์ 10 เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ 1 ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย
พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทานเท่าไร ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจาก
อุปาทานเท่าไร อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทานเท่าไร นิพพิทานุปัสสนา-
ญาณ ฯลฯ วิราคานุปัสสนาญาณ ฯลฯ นิโรธานุปัสสนาญาณ ฯลฯ ปฏินิสสัคคา-
นุปัสสนาญาณ ฯลฯ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ฯลฯ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ
ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทานเท่าไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน 3 ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจาก
อุปาทาน 1 อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน 3 นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้น
จากอุปาทาน 1 วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน 1 นิโรธานุปัสสนาญาณพ้น
จากอุปาทาน 4 ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน 4 อนิมิตตา-
นุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน 3 อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน 1
สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน 3
อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน 3 อะไรบ้าง คือ
1. ทิฏฐุปาทาน
2. สีลัพพตุปาทาน
3. อัตตวาทุปาทาน
อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน 3 นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :362 }